ค้าน ! ขึ้นค่าแรง 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ 17 สภาองค์การนายจ้าง แสดงจุดยืนร่วมกันคัดค้าน การขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (สภา 2) ร่วมกับสภาองค์การนายจ้างอีก 16 สภา ประชุมหารือประเด็นปัญหาต่างๆ แสดงจุดยืนร่วมกัน คัดค้านการขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ที่จะให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ต.ค. 2567 เตรียมยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและปลัดกระทรวงแรงงาน ข้อเสนอแนะที่รัฐต้องคำนึงถึง

▪ รัฐควรคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจและความพร้อมที่แตกต่างกัน

▪ การพิจารณานโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี ตามหลักกฎหมาย ซึ่งบัญญัติไว้ใน ม. 87 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 คณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นด้วย

▪ ต้องคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความสามารถของประเภทธุรกิจ โดยผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน หากการปรับอัตราค่าจ้างที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศไทย ทำให้เกิดความไม่มั่นใจถึงต้นทุนของการทำธุรกิจและนโยบายภาครัฐ

▪ ถึงแม้ว่าการปรับค่าจ้าง จะใช้บังคับ เฉพาะโรงงานที่สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ก็ยังไม่เห็นด้วยเช่นเดียวกันเพราะยังขาดหลักการพิจารณาที่เหมาะสม

สภาองค์การนายจ้าง จึงได้ร่วมกันลงนามคัดค้านและเสนอแนะ เพื่อให้กระทรวงแรงงานได้รับทราบ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่สภาองค์การนายจ้างเห็นร่วมกัน เพื่อนำเสนอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และท่านปลัดกระทรวงแรงงาน โดยมีรายนามประกอบด้วย

  1. สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (สภา 1)
  2. สภาองค์การนายจ้างสภาอุตสาหกรรมเอ็สเอ็มอี แห่งประเทศไทย (สภา 3)
  3. สภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค (สภา 4)
  4. สภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ (สภา 5)
  5. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย (สภา 6)
  6. สภาองค์การนายจ้างไทยสากล (สภา 7)
  7. สภาองค์การนายจ้างการเกษตร ธุรกิจ อุตสาหกรรมไทย (สภา 8)
  8. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจ การค้าและบริการไทย (สภา 9)
  9. สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าไทย (สภา 10)
  10. สภาองค์การนายจ้างไทย (สภา 11)
  11. สภาองค์การนายจ้าง ธุรกิจ และอุตสาหกรรมแห่งชาติ (สภา 12)
  12. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจอุตสาหการไทย (สภา 13)
  13. สภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย (สภา 14)
  14. สภาองค์การนายจ้างบริการไทย (สภา 15)
  15. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว-ภาค 8 (สภา 16)
  16. สภาองค์การนายจ้างเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (สภา 17)